- ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร
- สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์
- รายละเอียดสถานการณ์ผลิดและการตลาด
สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 4-10 ตุลาคม 2562
ข้าว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด และได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ จะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกๆ 15 วัน จนถึงวันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามโครงการประกันรายได้ฯ โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,405 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,438 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,835 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,797 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,450 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,510 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,226 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,965 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,215 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,875 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.90 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 90 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,814 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 85 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,663 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 419 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,717 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 54 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,814 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 421 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,777 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 37 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.1510
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
อุปสงค์ลด ไทย-อินเดีย ปรับลดราคาข้าว
อัตราการส่งออกข้าวในเอเชียลดลง เนื่องจากความต้องการที่ลดลงและค่าเงินผันผวน ทำให้ผู้ประกอบการค้าข้าว
ในอินเดียและไทยปรับราคาลง โดยราคาข้าว 5% ของไทย ปรับลดลงเล็กน้อยที่ตันละ 396-417 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ราคาตันละ 400-420 ดอลลาร์สหรัฐฯ
สำหรับผู้ส่งออกข้าวไทยได้ลดราคาข้าวเพื่อจูงใจผู้บริโภค เนื่องจากเมื่อสองเดือนที่ผ่านมาไม่สามารถขายข้าวได้ ประกอบกับผู้ส่งออกของไทยต้องเผชิญกับค่าเงินบาทที่แข็งค่านับตังแต่ต้นปี ส่งผลให้ราคาข้าวของไทยสูงกว่าคู่แข่งอย่างอินเดียและเวียดนาม
ผู้ประกอบการค้าข้าวรายหนึ่งในกรุงเทพฯ กล่าวว่า "เป็นไปได้ที่แอฟริกาจะมีการตกลงซื้อข้าวนึ่งก่อนช่วง เทศกาลคริสต์มาส และช่วงปลายปีนี้จีนและตลาดเอเชียอื่นๆ อาจมีความต้องการข้าวหอมมะลิ แต่ตอนนี้ยังไม่มีทีท่าว่าตลาดจะมีความต้องการ เนื่องจากข้าวของไทยมีราคาสูง"
สำหรับอินเดีย ราคาส่งออกข้าวนึ่ง 5% ประมาณตันละ 369-373 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 371-375 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนตัวลง ประกอบกับความต้องการที่ลดลง โดยผู้ส่งออกรายหนึ่ง กล่าวว่า "ความต้องการที่ลดลงนี้ ทำให้ผู้ประกอบการมองไปยังผลผลิตฤดูกาลหน้า" ส่วนการส่งออก ช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ปริมาณ 3.14 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 26.5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการข้าวทีไม่ใช่บาสมาติจากแอฟริกาลดลง
เวียดนาม ราคาข้าว 5% ประมาณตันละ 330-340 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสัปดาห์นี้ ราคาตันละ 325 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ตันละ 335 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำสุดในรอบ 12 ปี ผู้ประกอบการค้า
ในเมืองโฮจิมินห์ กล่าวว่า "เรามีความกังวลว่าการส่งออกไปยังฟิลิปปินส์จะลดลง เนื่องจากการจํากัดการนําเข้าข้าวเพื่อประกันผลผลิตในท้องถิ่น" แม้ว่าการส่งมอบข้าวของเวียดนามในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 5.1 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 แต่คาดว่ารายได้จากการส่งออกจะลดลงร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้นําเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก อาจกําลังพิจารณานโยบายการปกป้องเพื่อการค้าข้าวของเกษตรกรในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการนําเข้าที่เพิ่มขึ้น
ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ฟิลิปปินส์
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงเกษตรของประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อชี้แจงกรณีที่ฟิลิปปินส์ได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนมายังรัฐบาลไทยและเวียดนามว่า มีการนำเข้าข้าวของไทยและเวียดนามในปริมาณที่มากเกินไป หลังจากฟิลิปปินส์ได้เปิดเสรีให้ภาคเอกชนนำเข้าแทนการจัดซื้อแบบจีทูจีทำให้ส่งผลกระทบต่อราคาข้าวในประเทศตกต่ำ ดังนั้นฟิลิปปินส์อาจจะพิจารณาใช้มาตรการเซฟการ์ดเพื่อปกป้องสินค้าเกษตรเป็นพิเศษ เช่น การปรับเพิ่มภาษีนำเข้าข้าว เป็นร้อยละ 50
อย่างไรก็ตามไทยไม่เห็นด้วย เพราะนอกจากไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้ว ข้าวไทยก็ไม่ได้ดั้มพ์ราคา เนื่องจากราคาข้าวไทยสูง โดยข้าวขาวตันละ 390-410 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าเวียดนาม 50-60 ดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าในปีนี้เวียดนามส่งข้าวไปฟิลิปปินส์แล้ว 1.4-1.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 720 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 150 จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะกดราคาข้าวของฟิลิปปินส์ ขณะที่ข้าวไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์เพียง 2-3 แสนตัน ลดลงจากก่อนหน้าที่ไทยสามารถชนะประมูลข้าวจีทูจีและส่งออกไป 3-5 แสนตันต่อปี “ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ส่งหนังสือไปยังภาคเอกชนและหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมกันหามาตรการรับมือ รวมถึงชี้แจงกรณีที่กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนมายังรัฐบาลไทยว่าข้าวของไทยและเวียดนาม ได้เข้ามาจำหน่ายในฟิลิปปินส์ปริมาณมาก โดยหาเป็นข้าวในกลุ่มอาเซียนเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 35 และนอกอาเซียนร้อยละ 50”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)
มีแผนที่จะนำคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนไปโรดโชว์ ณ ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อทำตลาดข้าวไทยเพิ่มขึ้น แต่อาจพิจารณาเลื่อนออกไปก่อน เพื่อดูท่าทีฟิลิปปินส์ว่าจะมีมติเกี่ยวกับการไต่สวนไทยอย่างไร
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า มาตรการเซฟการ์ดข้าวไทย
ในครั้งนี้ตื่นตระหนกต่อตลาดข้าวอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้เซฟการ์ดกับข้าวไทยจริง ประเทศไทยก็สามารถร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ เพราะข้อมูลการส่งออกข้าวไทยไม่สูงไปจากอดีต และราคาข้าวไทย
ที่ไปจำหน่ายในฟิลิปปินส์ยังมีราคาที่สูงกว่าคู่แข่ง เพราะหากขายในราคา 300-400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ก็จะขาดทุนทันที
ขณะนี้ ผู้นำเข้าข้าวจากประเทศญี่ปุ่นได้มีคำสั่งซื้อข้าวไทย 4-4.5 หมื่นตัน ตามกรอบองค์การการค้าโลก โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวขาวเมล็ดยาว เพื่อนำเข้าโรงงานแปรรูปอาหารและขนม เนื่องจากญี่ปุ่นมองว่าข้าวไทยเป็นข้าว
มีคุณภาพและได้มาตรฐาน โดยตลอดทั้งปีนี้คาดว่าญี่ปุ่นจะนำเข้าข้าวไทยราว 2-3 แสนตัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข. ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือก อุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และ รอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
(8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริม
การปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ ได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร (2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ ได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว | ราคาประกันรายได้ | ครัวเรือนละไม่เกิน |
(บาท/ตัน) | (ตัน) | |
ข้าวเปลือกหอมมะลิ | 15,000 | 14 |
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ | 14,000 | 16 |
ข้าวเปลือกเจ้า | 10,000 | 30 |
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี | 11,000 | 25 |
ข้าวเปลือกเหนียว | 12,000 | 16 |
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ จะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกๆ 15 วัน จนถึงวันสิ้นสุดการใช้สิทธิตามโครงการประกันรายได้ฯ โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่
1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 16,405 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,438 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.20
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,835 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,797 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 36,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,450 บาท ราคาลดลงจากตันละ 11,510 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,226 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,965 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,215 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,875 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.90 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 90 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,814 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 85 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,663 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 419 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,717 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23 แต่ลดลงในรูปเงินบาทตันละ 54 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 425 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,814 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 421 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12,777 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.95 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 37 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.1510
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
อุปสงค์ลด ไทย-อินเดีย ปรับลดราคาข้าว
อัตราการส่งออกข้าวในเอเชียลดลง เนื่องจากความต้องการที่ลดลงและค่าเงินผันผวน ทำให้ผู้ประกอบการค้าข้าว
ในอินเดียและไทยปรับราคาลง โดยราคาข้าว 5% ของไทย ปรับลดลงเล็กน้อยที่ตันละ 396-417 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ราคาตันละ 400-420 ดอลลาร์สหรัฐฯ
สำหรับผู้ส่งออกข้าวไทยได้ลดราคาข้าวเพื่อจูงใจผู้บริโภค เนื่องจากเมื่อสองเดือนที่ผ่านมาไม่สามารถขายข้าวได้ ประกอบกับผู้ส่งออกของไทยต้องเผชิญกับค่าเงินบาทที่แข็งค่านับตังแต่ต้นปี ส่งผลให้ราคาข้าวของไทยสูงกว่าคู่แข่งอย่างอินเดียและเวียดนาม
ผู้ประกอบการค้าข้าวรายหนึ่งในกรุงเทพฯ กล่าวว่า "เป็นไปได้ที่แอฟริกาจะมีการตกลงซื้อข้าวนึ่งก่อนช่วง เทศกาลคริสต์มาส และช่วงปลายปีนี้จีนและตลาดเอเชียอื่นๆ อาจมีความต้องการข้าวหอมมะลิ แต่ตอนนี้ยังไม่มีทีท่าว่าตลาดจะมีความต้องการ เนื่องจากข้าวของไทยมีราคาสูง"
สำหรับอินเดีย ราคาส่งออกข้าวนึ่ง 5% ประมาณตันละ 369-373 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากตันละ 371-375 ดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากค่าเงินรูปีอ่อนตัวลง ประกอบกับความต้องการที่ลดลง โดยผู้ส่งออกรายหนึ่ง กล่าวว่า "ความต้องการที่ลดลงนี้ ทำให้ผู้ประกอบการมองไปยังผลผลิตฤดูกาลหน้า" ส่วนการส่งออก ช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ปริมาณ 3.14 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 26.5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการข้าวทีไม่ใช่บาสมาติจากแอฟริกาลดลง
เวียดนาม ราคาข้าว 5% ประมาณตันละ 330-340 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสัปดาห์นี้ ราคาตันละ 325 ดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ตันละ 335 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำสุดในรอบ 12 ปี ผู้ประกอบการค้า
ในเมืองโฮจิมินห์ กล่าวว่า "เรามีความกังวลว่าการส่งออกไปยังฟิลิปปินส์จะลดลง เนื่องจากการจํากัดการนําเข้าข้าวเพื่อประกันผลผลิตในท้องถิ่น" แม้ว่าการส่งมอบข้าวของเวียดนามในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็น 5.1 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 แต่คาดว่ารายได้จากการส่งออกจะลดลงร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้นําเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก อาจกําลังพิจารณานโยบายการปกป้องเพื่อการค้าข้าวของเกษตรกรในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการนําเข้าที่เพิ่มขึ้น
ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
ฟิลิปปินส์
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงเกษตรของประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อชี้แจงกรณีที่ฟิลิปปินส์ได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนมายังรัฐบาลไทยและเวียดนามว่า มีการนำเข้าข้าวของไทยและเวียดนามในปริมาณที่มากเกินไป หลังจากฟิลิปปินส์ได้เปิดเสรีให้ภาคเอกชนนำเข้าแทนการจัดซื้อแบบจีทูจีทำให้ส่งผลกระทบต่อราคาข้าวในประเทศตกต่ำ ดังนั้นฟิลิปปินส์อาจจะพิจารณาใช้มาตรการเซฟการ์ดเพื่อปกป้องสินค้าเกษตรเป็นพิเศษ เช่น การปรับเพิ่มภาษีนำเข้าข้าว เป็นร้อยละ 50
อย่างไรก็ตามไทยไม่เห็นด้วย เพราะนอกจากไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้ว ข้าวไทยก็ไม่ได้ดั้มพ์ราคา เนื่องจากราคาข้าวไทยสูง โดยข้าวขาวตันละ 390-410 ดอลลาร์สหรัฐฯ สูงกว่าเวียดนาม 50-60 ดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าในปีนี้เวียดนามส่งข้าวไปฟิลิปปินส์แล้ว 1.4-1.5 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 720 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 150 จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะกดราคาข้าวของฟิลิปปินส์ ขณะที่ข้าวไทยส่งออกไปฟิลิปปินส์เพียง 2-3 แสนตัน ลดลงจากก่อนหน้าที่ไทยสามารถชนะประมูลข้าวจีทูจีและส่งออกไป 3-5 แสนตันต่อปี “ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ส่งหนังสือไปยังภาคเอกชนและหน่วยงานต่างๆ เพื่อร่วมกันหามาตรการรับมือ รวมถึงชี้แจงกรณีที่กระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนมายังรัฐบาลไทยว่าข้าวของไทยและเวียดนาม ได้เข้ามาจำหน่ายในฟิลิปปินส์ปริมาณมาก โดยหาเป็นข้าวในกลุ่มอาเซียนเสียภาษีนำเข้าร้อยละ 35 และนอกอาเซียนร้อยละ 50”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์)
มีแผนที่จะนำคณะผู้บริหารกระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนไปโรดโชว์ ณ ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อทำตลาดข้าวไทยเพิ่มขึ้น แต่อาจพิจารณาเลื่อนออกไปก่อน เพื่อดูท่าทีฟิลิปปินส์ว่าจะมีมติเกี่ยวกับการไต่สวนไทยอย่างไร
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า มาตรการเซฟการ์ดข้าวไทย
ในครั้งนี้ตื่นตระหนกต่อตลาดข้าวอย่างมาก อย่างไรก็ตาม หากมีการใช้เซฟการ์ดกับข้าวไทยจริง ประเทศไทยก็สามารถร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ได้ เพราะข้อมูลการส่งออกข้าวไทยไม่สูงไปจากอดีต และราคาข้าวไทย
ที่ไปจำหน่ายในฟิลิปปินส์ยังมีราคาที่สูงกว่าคู่แข่ง เพราะหากขายในราคา 300-400 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ก็จะขาดทุนทันที
ขณะนี้ ผู้นำเข้าข้าวจากประเทศญี่ปุ่นได้มีคำสั่งซื้อข้าวไทย 4-4.5 หมื่นตัน ตามกรอบองค์การการค้าโลก โดยส่วนใหญ่เป็นข้าวขาวเมล็ดยาว เพื่อนำเข้าโรงงานแปรรูปอาหารและขนม เนื่องจากญี่ปุ่นมองว่าข้าวไทยเป็นข้าว
มีคุณภาพและได้มาตรฐาน โดยตลอดทั้งปีนี้คาดว่าญี่ปุ่นจะนำเข้าข้าวไทยราว 2-3 แสนตัน
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.34 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.29 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.86 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.51
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.78 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.04 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.32 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.24 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.97
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 293.60 ดอลลาร์สหรัฐ (8,852 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 289.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,771 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.59 และเพิ่มขึ้น ในรูปของเงินบาทตันละ 81 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 388.32 เซนต์ (4,676 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 385.60 เซนต์ (4,674 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.71 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 2 บาท
มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 31.474 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.53 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.53 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.62 โดยเดือนตุลาคม 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.55 ล้านตัน (ร้อยละ 4.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.61 ล้านตัน (ร้อยละ 55.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนัก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.68 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.63 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.07
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.74 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.42 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.45 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.47
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,025 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,071 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,658 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 455 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,809 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.44
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 31.474 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.53 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2561
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.72 ล้านไร่ ผลผลิต 30.995 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.56 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว และผลผลิต สูงขึ้นร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.53 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ลดลงร้อยละ 0.62 โดยเดือนตุลาคม 2562 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.55 ล้านตัน (ร้อยละ 4.92 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2562 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 17.61 ล้านตัน (ร้อยละ 55.96 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงต้นฤดูการเก็บเกี่ยว ผลผลิตยังออกสู่ตลาดไม่มากนัก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.68 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.63 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.07
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.74 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.42 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.45 บาทในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.47
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.25 ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 233 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,025 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (7,071 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 453 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,658 บาทต่อตัน) ราคาลดลงจากตันละ 455 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,809 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.44
ปาล์มน้ำมัน
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนตุลาคมจะมีประมาณ 1.241 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.223 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.133 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.204 ล้านตัน ของเดือนกันยายน คิดเป็นร้อยละ 9.53 และร้อยละ 9.31 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.77 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.59 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 6.95
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 17.50 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 16.75 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.48
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
รัฐบาลอินโดนีเซียระงับการปลูกปาล์มน้ำมัน
รัฐบาลอินโดนีเซียพบว่า 8.12 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 19 ของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งหมด ถูกใช้เป็นพื้นที่ปลูกอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งรัฐบาลกำลังหาวิธีการที่จะยกเลิกใบอนุญาตปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ที่ยังไม่มีการเพาะปลูก เนื่องจากต้องการจะเปลี่ยนพื้นที่นั้นให้เป็นป่าไม้ และพบว่ามีการปลูกปาล์มน้ำมันที่ผิดกฎระเบียบของรัฐ และไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนของอินโดนีเซียร้อยละ 81 ของพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งหมด โดยประธานาธิบดี โจโก วีโดโด ได้อนุมัติกฎหมายระงับการออกใบอนุญาตปลูกปาล์มน้ำมันใหม่เป็นเวลา 3 ปี เมื่อเดือนกันยายน 2561
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,129.02 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.68 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,089.32 ดอลลาร์มาเลเซีย (15.49 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.90
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 552.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.88 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 524.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.24
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
อ้อยและน้ำตาล
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
รายงานสต็อกน้ำตาลของบราซิล
ความต้องการใช้น้ำตาลภายในประเทศและต่างประเทศที่ซบเซา ส่งผลให้สต็อกน้ำตาลในประเทศของบราซิลเพิ่มสูงขึ้นเป็น 10.70 ล้านตัน จาก 9.70 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.31
ไม่มีรายงาน
2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ
รายงานสต็อกน้ำตาลของบราซิล
ความต้องการใช้น้ำตาลภายในประเทศและต่างประเทศที่ซบเซา ส่งผลให้สต็อกน้ำตาลในประเทศของบราซิลเพิ่มสูงขึ้นเป็น 10.70 ล้านตัน จาก 9.70 ล้านตัน ในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 10.31
ถั่วเหลือง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
จีนซื้อถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกาในอัตราที่เพิ่มขึ้น
จีนเร่งนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ ก่อนที่จะมีการเจรจาทางการค้าระดับสูง รวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับ
ถั่วเหลืองอีกครั้ง ณ กรุงวอชิงตัน กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ได้ยืนยันยอดส่งออกถั่วเหลืองสุทธิจำนวน 1.18 ล้านตัน ไปยังประเทศจีนในสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 62 และยังระบุว่า ประเทศจีนนำเข้าถั่วเหลืองมากกว่า 13 ล้านตัน ในปี 2562 ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ส.ค. 62 และได้รับซื้อถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 5 ล้านตันในฤดูกาลปัจจุบัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 919.76 เซนต์ (10.34 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 906.70 เซนต์ (10.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.44
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 301.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.23 บาท/กก.) เพิ่มขึ้น จากตันละ 297.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.33
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 29.78 เซนต์ (20.08 บาท/กก.) เพิ่มขึ้น จากปอนด์ละ 29.06 เซนต์ (19.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.48
1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.80 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
จีนซื้อถั่วเหลืองจากสหรัฐอเมริกาในอัตราที่เพิ่มขึ้น
จีนเร่งนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ ก่อนที่จะมีการเจรจาทางการค้าระดับสูง รวมถึงข้อตกลงเกี่ยวกับ
ถั่วเหลืองอีกครั้ง ณ กรุงวอชิงตัน กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ได้ยืนยันยอดส่งออกถั่วเหลืองสุทธิจำนวน 1.18 ล้านตัน ไปยังประเทศจีนในสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 62 และยังระบุว่า ประเทศจีนนำเข้าถั่วเหลืองมากกว่า 13 ล้านตัน ในปี 2562 ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ส.ค. 62 และได้รับซื้อถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 5 ล้านตันในฤดูกาลปัจจุบัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 919.76 เซนต์ (10.34 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 906.70 เซนต์ (10.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.44
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 301.60 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.23 บาท/กก.) เพิ่มขึ้น จากตันละ 297.64 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.16 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.33
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 29.78 เซนต์ (20.08 บาท/กก.) เพิ่มขึ้น จากปอนด์ละ 29.06 เซนต์ (19.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.48
ยางพารา
สับปะรด
ถั่วเขียว
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.74 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 27.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 27.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 16.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.94
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,027.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ
1,020.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 926.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 921.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 960.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 940.80 ดอลลาร์สหรัฐ (28.55 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.41 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 593.60 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 563.40 ดอลลาร์สหรัฐ (17.10 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.36 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.80 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,087.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.77 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,080.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.78 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.74 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 27.17 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 27.60 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.45
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 16.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.94
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,027.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ
1,020.40 ดอลลาร์สหรัฐ (30.97 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 926.80 ดอลลาร์สหรัฐ (27.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 921.00 ดอลลาร์สหรัฐ (27.95 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 960.60 ดอลลาร์สหรัฐ (28.96 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 940.80 ดอลลาร์สหรัฐ (28.55 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.41 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 593.60 ดอลลาร์สหรัฐ (17.90 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 563.40 ดอลลาร์สหรัฐ (17.10 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.36 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.80 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,087.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.77 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,080.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.78 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.65 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 10.15
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.11 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 8.54
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 41.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 10.15
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.11 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 8.54
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ฝ้าย
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 61.67 (กิโลกรัมละ 41.58 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 61.13 (กิโลกรัมละ 41.49 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนธันวาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 61.67 (กิโลกรัมละ 41.58 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 61.13 (กิโลกรัมละ 41.49 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.09 บาท
ไหม
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,782 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,773 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.51
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,421 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,395 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.86
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 846 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ปศุสัตว์
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ทำให้ภาวะตลาดสุกรค่อนข้างเงียบเหงาไม่ค่อยคึกคัก ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 62.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 60.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.29 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.05 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 67.59 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 54 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ทำให้ภาวะตลาดสุกรค่อนข้างเงียบเหงาไม่ค่อยคึกคัก ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลง แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 62.02 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 60.28 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.29 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 61.05 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 67.59 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,300 บาท (บวกลบ 54 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ประกอบกับสถานศึกษาปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.78 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.61 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.72 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ภาวะตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ประกอบกับสถานศึกษาปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคอ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.78 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.61 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.72 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 13.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ประกอบกับตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่ลดลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 288 บาท ลดลงร้อยฟองละ 291 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 300 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 289 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 331 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากอยู่ในช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ ประกอบกับตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาปิดภาคเรียน ส่งผลให้ความต้องการบริโภคไข่ไก่ลดลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 288 บาท ลดลงร้อยฟองละ 291 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 300 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 289 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 331 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 326 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 329 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.91 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 339 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 309 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 326 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 329 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.91 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 333 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 339 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 309 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.07 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.64 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 87.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 88.11 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.08 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.07 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.64 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.76 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.55 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.98 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 68.11 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.76 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.52 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.55 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 63.98 ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ประมง
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 – 10 ตุลาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 45.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.84 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.11 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.41 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 122.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.63 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 119.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.17 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 142.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.97 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 4 – 10 ตุลาคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 45.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 11.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.84 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 84.95 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.11 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.41 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 122.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.63 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 118.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 119.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.17 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 142.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 260.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.97 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา